คำนาม

 คำนาม

  คำนาม* เป็นคำที่หมายถึงบุคคล สัตว์ วัตถุ สิ่งของ สภาพธรรมชาติ สถานที่ ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม คือรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม คำนามจำแนกเป็น ชนิด คือ คำนามสามัญ คำนามวิสามัญ คำลักษณนาม คำอาการนาม

 ๑.คำนามสามัญ (สามานยนาม) คือ คำนามที่ใช้เรียกสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไป มิได้ระบุแน่นอนว่าเป็นสิ่งนี้ มีชื่อเรียกอย่างนี้ หรือสิ่งนั้น มีชื่อเรียกอย่างนั้น เช่น คน บ้าน วัด โรงเรียน สัตว์ ข้าว ช้าง แมว อาหาร ทหาร ตำรวจ รถไฟ ไก่ย่าง ประชาธิปไตย คุณธรรม เศรษฐกิจพอเพียง ภูมิศาสตร์ จิตวิทยา ฯลฯ

คำนามสามัญอาจมีความหมายแคบกว้างต่างกัน เช่น ผลไม้ ทุเรียน มะม่วง ชมพู่ ก้านยาว หมอนทอง ฟ้าลั่น เขียวเสวย แก้มแหม่ม น้ำดอกไม้ ฯลฯ

ตัวอย่าง ทุเรียน ก้านยาว – ทุเรียน    เป็นคำนามสามัญ
– ก้านยาว  เป็นคำนามสามัญย่อย

๒.คำนามวิสามัญ คือ คำที่เป็นชื่อซึ่งตั้งขึ้นเฉพาะสำหรับเรียกคำนามสามัญหนึ่ง ๆ เช่น สมชาย สมร เกษมสันต์ เป็นชื่อเฉพาะของคน เป็นคำนามวิสามัญ เจ้าแต้ม ย่าเหล ทองแดง เป็นชื่อเฉพาะของสุนัข เป็นคำนามวิสามัญ เป็นต้น

 

เดี๋ยวมาลงต่อนะคะ

_______________

* ความหมายและประเภทของคำนาม อ้างอิงตามหนังสืออุเทศภาษาไทย ชุด บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๓ : ชนิดของคำ วลี ประโยคและสัมพันธสาร ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๕.

 

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *